http://www.ptfethai.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 Home

 Products

 Webboard

 Gallery

 Contact us

 Map

สถิติ

เปิดเว็บ19/06/2009
อัพเดท25/08/2023
ผู้เข้าชม1,805,053
เปิดเพจ2,516,089

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด

PTFE (TEFLON) SHEET

PTFE (TEFLON) ROD

PTFE (TEFLON) TUBE

PTFE (TEFLON) HOSE

PTFE (TEFLON) DATA SHEET

SILICONE SHEET

POM ROD

POM Sheet

PE300 SHEET

BAKELITE SHEET

PE1000 Sheet

PP Sheet

MC Blue Sheet

PVC Sheet

เทฟล่อน แผ่น

เทฟล่อน แท่ง

เทฟล่อน ท่อ

เทฟล่อน หลอด

ซิลิโคน แผ่น

ปอม แท่ง

ปอม แผ่น

พีอี300 แผ่น

แบกกาไลท์ แผ่น

พีอี 1000 แผ่น

พีพี แผ่น

MC ไนล่อน สีฟ้า

พีวีซี แผ่น

เทฟล่อนแผ่น ชนิดติดกาวได้

ผ้าใยแก้วเคลือบเทฟล่อน (ผ้าซีล)

ดูสินค้าทั้งหมด

พลาสติกวิศวกรรม

เทฟลอน (Teflon®) เป็นชื่อทางการค้าของสาร polytetrafluoroethylene

(อ่าน 6394/ ตอบ 0)

D

 เทฟลอน (Teflon®)  เป็นชื่อทางการค้าของสาร   polytetrafluoroethylene (PTFE)   ซึ่งค้นพบโดย ดร. Roy Plunkett จากบริษัท ดูปองด์ (Du Pont) ในปี พ.ศ.2481(ค.ศ. 1938) และได้รับสิทธิบัตรภายใต้ชื่อการค้าดังกล่าวใน 5 ปีต่อมา เนื่องจากสาร PTFE หรือ Teflon® เป็นสารที่มีความลื่นสูง ทนความร้อน ทนกรดด่างและ ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ทำให้นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสนำสารชนิดนี้  มาเคลือบกระทะได้เป็นกระทะแบบอาหารไม่ติด (non-stick pan) ภายใต้ชื่อการค้า เทฟาล (Tefal)  ซึ่งย่อมาจาก   Tetra Ethylene Fluorine Aluminium   ในปี พ.ศ.2499  (ค.ศ. 1956)  หลังจากประสบความสำเร็จในการผลิตกระทะแบบอาหารไม่ติด ได้มีการนำ Teflon® มาเคลือบอุปรณ์และเครื่องครัวอื่นๆ อีกหลายชนิด   เช่น   ถาดอบขนม พิมพ์สำหรับทำคุ๊กกี้  ตะหลิว  ไม้คลึงแป้ง ช้อน เครื่องตีไข่ กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องครัวที่เคลือบด้วย Teflon® ได้รับความนิยมอย่างมากจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องครัวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือ เป็นเครื่องครัวแบบอาหารไม่ติด (non-stick cookingware)  สามารถใช้ปรุงอาหารได้โดยไม่ต้องใช้น้ำมัน ทำความสะอาดได้ง่าย และสามารถป้องกันผิวของโลหะภายในจากน้ำและออกซิเจน  ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสนิมและการผุกร่อนของผิวโลหะ ในประเทศไทยเองก็ได้มีการนำ Teflon® มาเคลือบบาตรพระ เพื่อให้ล้างทำความสะอาดง่าย ทนทานและดูแลรักษาง่ายขึ้น ดังในรูปที่ 1


รูปที่ 1 ตัวอย่างของภาชนะเคลือบเทฟลอน

 

            ในปัจจุบันมีการใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอนกันอย่างแพร่หลาย ทำให้คำว่า “เทฟลอน” เป็นคำที่คนทั่วไปรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยคนทั่วไปมักคิดว่า การใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอนปรุงอาหารดีต่อสุขภาพ เพราะไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่ต้องกลัวอ้วน แต่การใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอนผิดวิธีก็ส่งผลต่อสุขภาพได้ ทั้งนี้เนื่องจาก Teflon® จะเริ่มเกิดการสลายตัวและสูญเสียความลื่นไป เมื่อได้รับความร้อนสูงกว่า 260 °C หรือ 500 °F และที่อุณหภูมิสูงกว่า 400 °C หรือ 752 °F จะมีการปลดล่อยก๊าซ carbonyl fluoride (COF2 ) ออกมา โดยก๊าซชนิดนี้เป็นพิษรุนแรงต่อนกและสัตว์ปีก โดยทำให้นกตายจากการมีของเหลวคั่งและมีเลือดออกในปอด ส่วนในคนจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ Teflon flu” หรือ “Polymer fume fever “ โดยจะมีอาการปวดศรีษะ เป็นไข้ หนาวสั่น คล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ (flu-like symptom) ดังนั้นการใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอนอย่างถูกวิธี ก็จะไม่มีอันตราย เช่นเดียวกับการใช้พลาสติกชนิดอื่น

            บริษัท  ผู้ผลิต      ได้แนะนำวิธีการใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอนอย่างถูกวิธีใน       Web sitehttp://www2.dupont.com/Teflon/en_US/products/safety/cookware_safety.html (ตารางที่1) โดยสรุปคือ

            1. ควรอ่านคู่มือการใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอน   ก่อนใช้งาน   เพื่อจะได้ทราบวิธีใช้ที่ถูกต้อง อุณหภูมิที่เหมาะสมและปลอดภัย 

            2. ควรใช้ไฟในระดับ ปานกลาง ถึง ต่ำ ในการปรุงอาหารด้วยภาชนะเคลือบเทฟลอน ซึ่งจะให้ความร้อนไม่เกิน 260 °C หรือ 500 °F

            3. ทิ้งภาชนะเคลือบเทฟลอนที่ไม่มีอาหาร หรือน้ำ  ในเตาอบ หรือบนเตาไฟ หรืออุ่นภาชนะก่อนใช้ (preheat) เพราะจะทำให้ภาชนะร้อนเกินไป(overheat) และปล่อยไอของสารที่เป็นพิษต่อทางเดินหายใจออกมา

            4. ควรเลือกใช้ภาชนะให้เหมาะสม  กับวิธีปรุงอาหารและชนิดของอาหาร  เช่น  สามารถใช้กระทะเทฟลอนในการทอดเนื้อได้ เนื่องจากการทอดเนื้อจะใช้อุณหภูมิประมาณ 204-243 °C

 



ตารางที่1: อุณหภูมิที่ใช้ในการปรุงอาหารแต่ละชนิด  Web sitehttp://www2.dupont.com/Teflon/en_US/products/safety/cookware_safety.html


            5. ไม่ควรใช้ภาชนะที่เคลือบด้วยเทฟลอนในการปรุงอาหารที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า 250 °C ควรใช้ภาชนะที่ทำจากกระเบื้องหรือแก้วทนความร้อน แทน

            6. เมื่อปรุงอาหารด้วยภาชนะที่เคลือบด้วยเทฟลอนโดยใช้ความร้อน    ควรเปิดหน้าต่างและพัดลมดูดอากาศ เพื่อช่วยระบายและป้องกันการหายใจเอาก๊าซ carbonyl fluoride (COF2 ) ซึ่งมีความเป็นพิษสูง เข้าสู่ร่างกาย




Polytetrafluoroethylene (PTFE)



IUPAC name :   Poly(difluoromethylene)



Other names :   Teflon, Syncolon, Fluon, Poly(tetrafluoroethene), 

                            Poly(tetrafluoroethylene)



CAS number :   9002-84-0






รูปที่ 1 Polytetrafluoroethylene (PTFE) polymer หรือ เทฟลอน (Teflon®)



คุณสมบัติทางเคมี


            Polytetrafluoroethylene (PTFE) หรือ Teflon® เป็นของแข็งที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง สีค่อนข้างขาว ทึบแสง น้ำหนักเบา และ มีค่าความเสียดทานต่ำมาก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานอยู่ในช่วง 0.05 ถึง 0.10 คุณสมบัติดังกล่าวทำให้สารต่างๆ ไม่ว่า น้ำ หรือน้ำมัน ก็ไม่สามารถเกาะติดผิวที่เคลือบด้วย PTFE ได้ นอกจากนี้ PTFE ยังเป็นสารพอลิเมอร์ที่มีความคงตัวสูง ทนต่อแสง UV ทนต่อกรด-ด่างและสารเคมีชนิดอื่นได้ดี ทนความร้อนได้ดี หลอมเหลวที่อุณหภูมิ 327 °C หรือ 621 °F    แต่ที่อุณหภูมิสูงกว่า 260 °C หรือ 500 °F จะเริ่มเกิดการสลายตัวของสารพอลิเมอร์และสูญเสียความ ลื่นไป โดยการสลายตัวตังกล่าวจะเห็นชัดที่อุณหภูมิสูงกว่า 400 °C  และที่อุณหภูมินี้เองจะมีก๊าซ carbonyl fluoride (COF2 ) ซึ่งมีความเป็นพิษสูง ถูกปลดล่อยออกมา สารดังกล่าวเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำในทางเดินหายใจ จะได้แก๊ส carbon dioxide และ กรด Hydrofluoric Acid  (HF ) ซึ่งเป็นกรดที่แรงและทำอันตรายต่อเยื่อบุในทางเดินหายใจ


การใช้ประโยชน์


            เทฟลอน มีคุณสมบัติของดังนี้ เมื่อเคลือบบนพื้นผิวจะทำให้น้ำหรือน้ำมันไม่เกาะติด ไม่ละลายในตัวทำละลายใด ๆ  ทนทานต่ออุณหภูมิสูง  ทนต่อการออกซิไดส์  ทนต่อแสงยูวี ทำให้มีการนำสารดังกล่าวมาใช้ประโยชน์มากมาย ส่วนมากนำมาใช้เคลือบภาชนะเครื่องใช้ในครัว บรรจุภัณฑ์ของอาหาร เพื่อให้สามารถปรุงอาหารโดยไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่ติดกระทะ ทำความสะอาดง่าย  และเหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพ  นอกจากเครื่องครัวยังมีการนำ Teflon®  มาผสมสีทาบ้าน เพื่อให้ไม่ติดคราบสกปรก ทำให้ผนังทำความสะอาดง่ายและช่วยป้องกันการรั่วซึมของน้ำ ใช้ผสมในเส้นใยสำหรับผลิตสิ่งทอภายใต้ชื่อ ชื่อ กอร์เท็กซ์ (Gore-tex®) และ ใช้เคลือบบนพรม เพื่อให้ทำความสะอาดง่ายและไม่ติดคราบสกปรก และจากคุณสมบัติที่มีความลื่นสูง จึงมีการนำ Teflon® มาใช้เป็นสารหล่อลื่น และมีการนำ  Teflon® ไปใช้เคลือบผิวอุปกรณ์การแพทย์ เช่น เข็มเจาะเลือด หรือใช้ท่อ Teflon® เป็นหลอดเลือดเทียม  (vascular grafts) ในกรณีที่เส้นเลือดอุดตันหรือถูกทำลาย เนื่องจากผิวของวัสดุที่เคลือบด้วย Teflon®  มีความลื่นสูง เกิดปฏิกิริยากับสารเคมีต่างๆได้ต่ำ กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ (inflammation) และกระตุ้นให้เกิดการจับตัวเป็นลิ่มเลือด (thrombogenic reactivity )ได้ต่ำกว่าพลาสติกชนิดอื่น จึงนิยมใช้เป็น “material of choice” สำหรับการปลูกถ่ายเส้นเลือดเทียมสำหรับเส้นเลือดขนาดเล็ก (small diameter vascular grafts) การผ่าตัดบายพาส (bypass) ของหลอดเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ  ดังในรูปที่ 2



รูปที่ 2 ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จาก PTFE หรือ Teflon®


             ในปีพ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1975) องค์การอาหารและยา แห่งสหรัฐอเมริกา (US-FDA) ได้รับรองการใช้สิ่งทอจากเส้นใยผสม Teflon® หรือ กอร์เท็กซ์ (Gore-tex®) เป็นวัสดุเนื้อเยื่อเทียมของมนุษย์ในทางศัลยกรรมพลาสติก รวมถึงการใช้เป็นนหลอดเลือดเทียมในการผ่าตัดหัวใจและทรวงอก การทำ bypass  หรือ stent ในการทำ ballon  เนื่องจากมีความสามารถทนต่อแรงดันเลือดได้ดีและสามารถเข้ากันได้กับร่างกายมนุษย์ในทางชีวภาพ 



ผลต่อสุขภาพ


            ถึงแม้ว่า PTFE ยังเป็นพอลิเมอร์ที่มีความคงตัวสูง สามารถทนความร้อนได้ดี รวมถึงทนต่อกรด-ด่างและสารเคมีชนิดอื่นได้ดี แต่ที่อุณหภูมิสูงกว่า 400 °C จะมีการปล่อยก๊าซ carbonyl fluoride (COF2 ) ซึ่งมีความเป็นพิษสูง ออกมาสูสิ่งแวดล้อม โดยสารดังกล่าวเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำในทางเดินหายใจ จะได้ก๊าซ carbon dioxide และ กรด Hydrofluoric Acid  (HF ) ซึ่งเป็นกรดและสามารถทำอันตรายต่อเยื่อบุในทางเดินหายใจ ทำให้นกและสัตว์ปีก มีของเหลวคั่งและมีเลือดออกในปอด และทำให้เกิดอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ (flu-like symptom) ที่เรียกว่า “ Teflon flu” หรือ “Polymer fume fever “ในมนุษย์



บรรณานุกรม



1. http://en.wikipedia.org/wiki/Teflon

2. http://en.wikipedia.org/wiki/Teflon_flu

3. http://www2.dupont.com/Teflon_Industrial/en_US/tech_info/techinfo_
compare.html


4. http://www2.dupont.com/Teflon/en_US/products/safety/cookware_
safety.html


5. Angela N. Garcı´a  and et al., J. Anal. Appl. Pyrolysis, 2007, 80, 85–91

6. Scheel, L.D., and et al., Am. Ind. Hyg. Assoc. J. , 1968, 29,41-48. 

7. Scheel L.D and et al., Am. Ind. Hyg. Assoc. J., 1968, 29, 49-53.

8. Lorenzo S. and Ugo P., Ann. Thorac. Surg. 1999, 68, 590-593



Link: คลิ๊กที่นี่

Lock Reply
view

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view